ความดันโลหิต จะประกอบด้วย ความดันตัวบน เรียกว่า ความดันซิสโตลิค (Systolic Pressure) และความดันตัวล่าง เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) ซึ่งค่าปกติจะไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงกว่านี้ ถือว่ามี “ความดันโลหิตสูง”
ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า
“ความดันโลหิตสูง” คือ สภาวะที่ค่าของความดันเลือดที่วัดอย่างถูกต้อง และมีการตรวจวัดหลายๆ ครั้ง ในต่างวาระกันแล้ว พบว่ามีระดับของความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท
เราแบ่งระดับความรุนแรง ของภาวะความดันโลหิตสูงไว้ ดังนี้
ระดับไขมันในเลือด
การตรวจวัดค่าของโคเลสเตอรอลรวม(Total Cholesterol)เพียงอย่างเดียวไม่พอเพียงในการบอกสถานะความเสี่ยงต่อโรคไขมัน อุดตันเส้นเลือด เราต้องการตรวจวัดระดับไขมันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ 1.โคเลสเตอรอลรวม(Total Cho.)
2.ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride)
3.HDL-Cho.(ไขมันชนิดดี)
4.LDL-Cho.(ไขมันชนิดไม่ดี)
โคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesteral)
เป็นค่าที่วัดระดับโคเลสเตอรอลรวม ซึ่งมีทั้ง โคเลสเตอรอลชนิดดี และโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดีปนกัน
โดยทั่วไประดับโคเลสเตอรอลรวมที่ตรวจพบ จะมาจาก มีโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-Cho) ประมาณร้อยละ 70 และเป็นไขมันชนิดที่ดี(HDL-Cho) ประมาณร้อยละ 17
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
การมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่นเดียวกับโคเลสเตอรอล ไขมันที่เรารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ ไขมันที่ซ่อนอยู่ในอาหารชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่ คือไตรกลีเซอไรด์ นั่นเอง ไตรกลีเซอไรด์ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้ามีมากเกินกว่าที่ร่างกาย
ต้องการ ไตรกลีเซอไรด์จะถูกเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อไขมันสะสมอยู่ภายในร่างกาย
ไขมัน HDL (High Density Lipoprotein )
เป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับโคเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกาย และนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ดังนั้นจึงเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ถ้ามีระดับ HDL-Cholesterol สูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยลง
ไขมัน LDL (Low Density Lipoprotein)
เป็นอนุภาคที่ทำหน้าที่ขนส่งโคเลสเตอรอลไปตามกระแสเลือด LDL สามารถจับกับผนังเส้นเลือดได้ ทำให้เกิดการสะสมโคเลสเตอรอลบนผนังเส้นเลือด เพราะฉะนั้น LDL จึงเป็นอนุภาคไขมันชนิดเลว ซึ่งจะบ่งชี้ว่า เรามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากหรือน้อย
เราสามารถตรวจวัด หาค่า LDL ได้โดยตรง หรือถ้าเรารู้ค่าของไขมันโคเลสเตอรอลรวม, ไขมันไตรกลีเซอไรด์, ไขมัน HDL เราก็สามารถหาค่า LDL ได้จากสูตร
LDL = โคเลสเตอรอลรวม – HDL – (ไตรกลีเซอไรด์)
ตัวอย่าง
ถ้าเราตรวจได้ โคเลสเตอรอล 240 มก./ดล.
ไตรกลีเซอไรด์ 200 มก./ดล.
HDL 50 มก./ดล.
LDL = 240 – 50 – (200/5) = 150 มก./ดล.
ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการรู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เราจำเป็นจะต้องรู้ระดับไขมันที่ไม่ดี คือ LDL-Cholesterol
ไขมันในเลือดมีกี่ชนิด ?
มีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญและควรทราบมี 3 ชนิด คือ
1. แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol)
ไขมันตัวนี้เปรียบเสมือน “ตัวผู้ร้าย” ถ้ามีปริมาณมากจะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นต้นเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง ยิ่งระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
2. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol)
เปรียบเสมือน “ตำรวจ” คอยจับผู้ร้าย เพราะเป็นตัวกำจัด แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ออกจากหลอดเลือดแดง การมีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride : TG)
เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งในกระแสเลือด เปรียบเสมือน “ผู้ช่วยผู้ร้าย” คนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงพร้อมกับระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ หรือ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
ระดับน้ำตาลในเลือด
่่
ผู้ที่ “มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน” ควรควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และติดตามตรวจเลือดบ่อยขึ้น อาจจะปีละ 2-3 ครั้ง
น้ำหนัก และส่วนสูง ดัชนีมวลร่างกาย
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อร่างกาย มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ โรคอ้วนทั้งตัว, โรคอ้วนลงพุง, และโรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง
1. โรคอ้วนทั้งตัว (Overall Obesity) จะมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันมิได้จำกัดอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะ
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วน”
แนะนำให้ใช้ การคำนวณดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index : BMI)
ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) /ส่วนสูง (เมตร)
การวินิจฉัย “โรคอ้วนทั้งตัว” ที่แน่นอนที่สุด คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เป็นเรื่องยุ่งยากเกินความจำเป็น ในทางปฏิบัติการใช้ ”ดัชนีมวลร่างกาย(BMI)”เป็น วิธีที่เหมาะสม โดยเหตุผลที่ว่า ดัชนีมวลร่างกายแปรตามส่วนสูงน้อย และจากการศึกษาพบว่าค่าของดัชนีมวลร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมัน จริงในร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับอัตราการตาย โดยผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์จะมีอัตราการตายสูงกว่า ผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายปกติค่าดัชนีมวลร่างกาย ผล
20.0-25.0 ปกติ
ต่ำกว่า 20.0 น้ำหนักน้อยเกินควร
25.0 – 30.0 อ้วนเล็กน้อย
สูงกว่า 30.0 เป็น ”โรคอ้วน”
2. โรคอ้วนลงพุง (Visceral Obesity) กลุ่มนี้จะมีไขมันของอวัยวะภายใน ที่อยู่ในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจมีไขมันใต้ผิวหนังที่หน้าท้อง เพิ่มมากกว่าปกติด้วยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วนลงพุง”
จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มี “ภาวะอ้วนลงพุง” เกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่า ผู้ที่มีไขมันสะสมมากบริเวณสะโพก และ/หรือ บริเวณต้นขา เนื่องจากไขมันในช่องท้องจะดักจับไขมันชนิดที่ดี (HDL) ทำให้ไขมันชนิดที่ดี (HDL) ในเลือดมีระดับต่ำลง เพราะฉะนั้นผู้ที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่วงกลางของลำตัว จะมีระดับไขมันที่ดี (HDL) ต่ำกว่าผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณสะโพก ก้น และต้นขา มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าชาวอินเดียในเอเชียเป็นชาติที่มีอัตราเกิดโรคหัวใจขาด เลือดสูงสุด ทั้งๆ ที่เกือบครึ่งหนึ่งของชนกลุ่มนี้เป็นมังสวิรัติมาตลอดชีวิต
จากการศึกษา พบว่า เกิดขึ้นเนื่องจากชนกลุ่มนี้มีระดับ HDL-Cholesterol ต่ำ และมีไตรกลีเซอไรด์สูง ร่วมกับมีรูปร่างเป็นโรคอ้วนลงพุง ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของโรคอ้วนลงพุง ซึ่งมักจะมีภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และมีไขมันที่ดีต่ำ (HDL ต่ำ)
3. โรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง (Combined Overall and Abdominal Obesity) เป็นผู้ที่มีทั้งไขมันทั้งตัวมากกว่าปกติ และมีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติร่วมกัน
ระดับกรดยูริค (Uric Acid)
การมีกรดยูริค (Uric Acid) สูงในเลือด อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ที่เรียกว่า เก๊าท์ (Gout) ซึ่งเกิดจากกรดยูริคมีการสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของข้อในรูปของผลึกยูเรต นอกจากนั้นการมีกรดยูริคสูง ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ด้วย
ค่าปกติของกรดยูริคในเลือด อยู่ที่ประมาณ 2.7-8.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตรใน กรณีที่ตรวจเลือดแล้วตรวจพบกรดในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่มีอาการของโรคข้ออักเสบ(เก๊าท์) เราไม่ถือว่าเป็นโรคเก๊าท์ เป็นเพียงแค่มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น